เมื่อธุรกิจเมื่อดำเนินไปได้สักระยะ และมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ต้องดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉะนั้น เวย์จะพาผู้ประกอบการ ที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ไปทำความรู้จักว่า มีรายได้เท่าไหร่ ถึงต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงข้อดี-ข้อเสีย และวิธีการต่างๆ ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการมือใหม่ห้ามพลาดเลย
สำรวจตนเองว่าควรจด ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ คลิกอ่านบทความเต็มๆ ได้ที่นี่
รายได้เท่าไหร่? ถึงต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ต้องมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ถึงจะทำการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ และเมื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว บริษัทมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้า จัดทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย และยื่นแบบ ภ.พ.30 ให้กับกรมสรรพากร
อยากรู้ความสำคัญของการ จดภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบละเอียด คลิกอ่านบทความเต็มๆ ได้ที่นี่
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำอย่างไร
- ผู้ประกอบการ ที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องดำเนินการยื่นคำขอจะทะเบียนภายใน 30 วัน
2.ผู้ประกอบการ ต้องมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบธุรกิจ ขายสินค้าหรือบริการ ที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.ผู้ประกอบการที่อยู่นอกประเทศไทย ต้องให้ตัวแทนในประเทศไทยดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.ผู้ประกอบการ ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่ประสงค์ต้องการเข้าสู่ระบบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.1 สินค้าพืชผลทางการเกษตร เคมีภัณฑ์ รวมถึงหนังสือพิมพ์ ตำราเรียน
4.2 สินค้าหรือบริการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย และมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
4.3 บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
4.4 ส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออก
4.5 บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
5.ผู้ประกอบการ ที่เป็นบุคคธรรมดาสัญชาติไทย ประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือบริการ ใช้ห้องชุดเป็นสถานประกอบการ และมีใบทะเบียนพาณิชย์
6.ผู้ประกอบการ ที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่ดำเนินการจดทะเบียน ถือว่ามีความผิดตามมาตรา 90/2 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เอกสารประกอบการจดทะเบียน
1.คำขอ ภ.พ.01 และ ภ.พ.01.1 (ถ้ามี)
2.สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ระบุชื่อ ที่อยู่ หรือหนังสือยินยอมให้ใช้อสังหาริมทรัพย์
3.หนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
4.ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ (กรณีเป็นคนต่างด้าว)
5.หนังสือการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน มูลนิธิ หน่วยงาน หรือกิจการของเอกชนที่ไม่ใช่นิติบุคคล
6.หนังสือตั้งตัวแทนรับรองจากสถานทูต หรือสถานกงสุล
7.เอกสารการดำเนินกิจการร่วมค้า (ถ้ามี)
8.แผนที่สถานประกอบการ และภาพถ่าย
9.หนังสือมอบอำนาจ บัตรและสำเนาประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ
10.หนังสือรับรองผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด กรณีใช้อาคารชุดเป็นสถานประกอบการ
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร
ข้อดีของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- สามารถทำการขอคืนภาษีซื้อได้
2.การจัดการบัญชีเป็นระบบ ตรวจสอบได้ง่าย
3.เพิ่มโอกาสในการขาย ปิดการขายได้ง่าย
ข้อเสียของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.ราคาสินค้าหรือบริการที่ต้องบวก VAT 7% ทุกครั้ง ทำให้ราคาแพงขึ้น
2.ต้องทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และต้องยื่น ภ.พ.30 ให้กับกรมสรรพากรทุกเดือน
3.ต้องมีความรู้เรื่องใบกำกับภาษี
อ่านรายละเอียดข้อดี – ข้อเสีย ของการจะทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับเต็มคลิกที่นี่
WAY ACCOUNTING รับทำบัญชี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมให้คำปรึกษาแบบครบวงจร
หากกำลังมองหาบริษัท รับทำบัญชี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่าลืมถึงนึก WAY ACCOUNTING เพราะเราเป็นสำนักงานบัญชี ที่ให้บริการรับทำบัญชี จดทะเบียนเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ จดภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้คำปรึกษาแบบครบวงจร มุ่งเน้นการให้บริการแบบมืออาชีพ เพื่อผู้ประกอบการยุคใหม่ สามารถขยายธุรกิจให้โตขึ้น จัดสรรกำไรและภาษีได้อย่างมีระบบ และเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ
โดย WAY ACCOUNTING เป็นสำนักงานบัญชี ที่ให้บริการจัดทำบัญชี และภาษีแบบครบวงจร จากผลงานที่ผ่านมา เราได้รับการยอมรับ และการไว้วางใจจากลูกค้าจำนวนมาก จนปัจจุบันเรามีลูกค้าที่ใช้บริการมากกว่า 500 บริษัท แต่นอกจากบริการจัดทำบัญชีและภาษี เรายังมีบริการจดทะเบียนบริษัท เพื่อเริ่มต้นทำธุรกิจ ให้คำปรึกษา เปิดคอร์สเรียนด้านบัญชีภาษี การขอใบอนุญาตต่างๆ และด้วยการให้บริการที่ถูกต้องตามมาตรฐาน ตรวจสอบได้
Call : 0983626426
Line : @wayaccount
Facebook : Way Accounting